ยินดีที่แวะมาเยี่ยม web blog ทักษะการจัดการความรู้ (KM) ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนศตวรรษที่ 21 วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ขอบคุณคุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา และเพื่อนๆ ที่แนะนำให้คำปรึกษา

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 14 ลำดับขั้นของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์


5. ลำดับขั้นของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ มีลำดับขั้นในการทำดังนี้
        5.1 เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย จุดประสงค์ก็คือ
            1) เพื่อช่วยในการกำหนดขอบข่ายของงานวิจัย
            2) เพื่อช่วยให้สามารถพิจารณาได้ว่าหัวข้อปัญหาในการวิจัยนี้เหมาะสมหรือไม่ จะหาข้อมูลได้จากที่ไหน
            3) เพื่อช่วยให้สามารถพิจารณาได้ว่า ผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์หรือมีคุณค่าต่อการศึกษาหรือไม่
        5.2 ตั้งจุดมุ่งหมายของการวิจัย โดยอาจจะตั้งเป็นสมมติฐานเพื่อช่วยให้สามารถกำหนดรูปแบบของการวิจัยได้
        5.3 รวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจจะได้จากแหล่งปฐมภูมิหรือแหล่งทุติยภูมิ ในขั้นนี้ผู้วิจัยจะต้องทราบว่า จะศึกษาข้อมูลนั้นได้จากไหน ค้นคว้าได้โดยวิธีใด
        5.4 จัดกระทำข้อมูลที่รวบรวมได้ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์ วิจารณ์ข้อมูล
        5.5 ประเมินผลข้อมูล โดยทำการวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าทั้งภายนอกและภายใน
        5.6 เขียนรายงานการวิจัย ซึ่งอาจเขียนได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ
        1) เสนอตามลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง
        2) เสนอตามกรอบหรือโครงร่างของเนื้อหาวิชา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น